วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การคิดวิเคราะห์
            กระบวนารคิดวิเคราะห์เป็นการแสดงให้เห็นจุดเริ่มตน สิ่งที่สืบเนื่องหรือเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในระบบการคิดและจุดสิ้นสุดของการคิด โดยกระบวนการคิดวิเคราะห์มีความสอดคล้องกับองค์ประกอบเรื่องความสามารถในการให้เหตุผลอย่างถูกต้อง
                เด็กสมัยนี้คิดเองไม่เป็น แม้กระทั้งการบ้านที่อาจารย์สั่งก็จะต้องมีรูปแบบให้นักเรียนเห็นอย่างชัดเจนว่าต้องทำอย่างไร ไม่อย่างนั้นก็จะไม่ตรงกับประเด็นที่สั่งหรือแม้บางครั้งอาจราย์สั่งงานอย่างชัดเจนแต่งานนักเรียนแต่ละคนก็ออกมาคนละทิศคนละทางและในการเรียนการสอนหากอาจารย์ถามนักเรียนว่าทำไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษ
I want to pass an exam.                    ฉันต้องการจะสอบให้ผ่านไป
I want to meet foreign friends .     ฉันอยากมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติ
I want to travel abord.                      ฉันอยากเดินทางไปต่างประเทศ
I want to get  a better job                 ฉันอยากได้งานที่ดีขึ้น  
I want to study overseas.                                  ฉันอยากไปเรียนต่างประเทศ
Because it is required.                      เพราะมันเป็นสิ่งจำเป็น
Because I like launguages                เพราะฉันชอบภาษา         
แต่เด็กบางคนก็ยังไม่รู้เลยว่าเรียนไปเพื่ออะไร
                การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาจำทำให้เด็กเกิดความสามารถในการคิดย้อนกลับว่าอะไรคือสาเหตุ cause อะไรคือผล Effect ด้วยการตอบคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวต่างๆ เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กมีเหตุผลในการเรียนและดำเนินชีวิตในสังคม
                เหตุการณ์ที่อาจารย์สั่งงานนักเรียน แล้วนักเรียนทำงานออกมาไม่ตรงประเด็น ดังที่กล่าวไปข้างต้น ในความคิดของดิฉัน อาจารย์ควรแก้ไขปัญหาโดยหลังจากที่อาจารย์สั่งการบ้านเสร็จ แล้วควรให้นักเรียนทวนให้อาจารย์ฟังอีกครั้งว่าถูกต้องหรือไม่และควรเปิดโอกาสให้นักเรียนถามในส่วนต่างๆที่นักเรียนสงสัย โดยให้ความเป็นกันเองต่อนักเรียน เพราะบางทีสาเหตุอาจมาจากนักเรียนไม่กล้าถามเพราะกลัวอาจารย์ก็เป็นได้
                หากอาจารย์ให้ความร่วมมือที่ทำให้เด็กพัฒนาความคิดเป็นวิเคราะห์ได้ว่าควรทำอย่างไรและรู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเอง อีกทั้งเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเองได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อการเรียนรู้ระยะยาวทางด้านวิชาการและเป็นการส่งเสริมให้เด็กฉลาดขึ้นอีกด้วย





การพูดทับศัพท์ที่แบบผิดความหมาย
                ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วโลก เมื่อมีคนหลายเชื้อชาติมาอยู่รวมกันมักจะสนทนาด้วยภาษากลาง (ภาษาสากล) ซึ่งก็คือภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันจนติดปากอยู่มากมาย แต่ว่าบางคำฝรั่งไม่ได้ใช้อย่างที่เราพูดกันติดปาก
                คำศัพท์ภาษาอังกฤษอิตๆที่มักพูดกันติดปาก ความจริงแล้วมันผิด บางคำใช้ผิดความหมาย บางคำแทบไม่มีในภาษาอังกฤษหรือบางคำเกดิจากการผสมคำใหม่ขึ้มมาใหม่ของคนไทยจนบางครั้งทำให้ฝรั่งเจ้าของภาษางงกันเป็นแถว เช่น
In trend อินเทรน ตามรายการวิทยุต่างๆจะใช้คำนี้กล่าวถึงวัยรุ่นในปัจจุบันว่า ทันสมัยเหลือเกินด้วยคำว่า In trend น่าจะมาจากประโยคที่ว่า It is trend. มันจะทันสมัยแต่สำหรับฝรั่งใช้คำว่า trendy หรือ fashionable เช่น It is trend. หรือ It is fashionable.
Over โอเวอร์ She is over. หล่อนดูโอเวอร์ หรือดูโอเวอร์มาก ซึ่งประโยคนี้ไม่มีในภาษาอังกฤษเลยฝรั่งจะใช้คำที่สื่อความ หมายถึง คนที่ทำอะไรเยอะเกินกว่าจริงว่า exaggerate เช่น She always exaggerate about her skills. เขาพูดโอเวอร์เกี่ยวกับความสามารถของเขา
American share ต่างคนต่างจ่าย (ในสถานการณ์ที่อยู่ในร้านอาหารหรือต้องจ่ายตังค์อะไรสักอย่าง) ที่ทำให้คนอเมริกันงง ต่างคนต่างจ่ายเป็นสำนวนภาษาอังกฤษต้องใช้คำว่า Let’s go Dutch. หรือ Go Dutch (with somebody) หรือใช้ประโยคง่ายๆคือ You pay for yourself. (จ่ายในส่วนของตัวเองนะ) Let’s just pay separately. (แยกกันจ่ายเถอะนะ) หรือ Everyone pay for their own meal. (ทุกคนจ่ายตังค์ของตัวเองนะ)
Check bill เช็คบิล น้องๆเช็คบิลหน่อยคนอังกฤษใช้คำว่า bill เช่น Bill, please. ส่วนอเมริกันพูดว่า Check, please. ซึ่งแปลว่า คิดเงนด้วยคะ แต่คนไทยมักใช้คำว่า check bill ซึ่งผิดควรเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น Could we have the check / bill, please ? เก็บเงินหน่อยได้ไหมคะ
Hi – So ไฮโซ คำนี้ทุกคนเข้าใจว่ามาจาก High Society แต่เวลาไปสื่อสารกับฝรั่งต่างภาษา ควรใช้คำว่า Classy หรือ Hi – Class สำหรับจะบอกใครว่าดูดีมีระดับ
สรุป ภาษาองกฤษใช้แบบผิดๆ มาจากความเคยชินและความเข้าใจผิดๆ ทำให้เรื่องผิดกลายเป็นเรื่องถูก แต่ใช้ได้ในประเทศไทยกับคนไทยเท่านั้น หากต้องการพูดสื่อสารกับชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ ควรจะใช้ภาษาที่มีความหมายไปในทางเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดหรือหลงประเด็นที่ต้องการจะสื่อสาร





การสอนภาษาอังกฤษ
รูปแบบการศึกษาไทยในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ด้วยองค์ความรู้ที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น พฤติกรรมของมนุษย์ที่ปรับเลี่ยนไปตามกาลเวลา ทฤษฎีการศึกษาในแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้ผล รูปแบบการเรียนรู้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อยุคสมัย กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงขยายขอบเขตออกไปจากเดิม เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ร่วมกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัย คือการจัดออบรมเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งการอบรมครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคการสอนแบบสนุกสนานแต่ผู้เรียนได้ความรู้ควบคู่ไปด้วย
ในวันนี้วิทยากรใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น คิดและคุยกัน กิจกรรมโต๊ะกลม ซึ่งวิธีแบบนี้เรียกว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ
สอนด้วยการใช้ความบันเทิงบวกกับความรู้ โดยการเล่นเกมส์บอล โดยมีลูกบอลทั้งหมด 20 ลูก กระจายให้นักเรียนทั่วห้องคนละลูกจนครบ 20 ลูก และเปิดเพลงพร้อมกับส่งลูกบอลไปให้เพื่อนเรื่อยๆจนกว่าเพลงจะจบ เมื่อเพลงจนลูกบอลอยู่ที่ใครให้ออกไปยืนหน้าห้อง และให้ผู้เรียนแต่ละคนพูดภาษาอังกฤษมาคนละ 1 ประโยค โดยใช้คอนเซ็ปการเล่านิทาน เริ่มจากผู้สอนพูดขึ้นมา 1  ประโยค แล้วให้แต่ละคนเล่าต่อกันไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย และเนื้อเรื่องของแต่ละคนต้องสอดคล้องกันการให้นักเรียนแสดงออกโดยใช้ภาษาแบบง่ายๆแต่งประโยคสั้นๆ จากนั้นก็ให้ผู้เรียนจับกลุ่มกัน โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับกระดาษโฟชาร์ท และสีเมจิก แล้วให้วาดภาพเรื่องราวนิทานที่เพื่อนๆตัวแทนได้เล่าตกแต่งให้สวยงามพร้อมนำเสนอหน้าชั้น เมื่อตัวแทนได้ออกไปรอนำเสนอ อาจารย์ก็บอกกติกาใหม่คือ ให้นำเสนอโดยใช้คำพูดแค่ 3 ประโยค แต่ครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมดของนิทาน
จากกิจกรรมที่ได้ทำในการเข้าอบรมในครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้กิจกรรมง่ายๆที่นำมาใช้ได้จริง เรื่องทักษะการคิด (thinking skill) การออกไปเล่านิทานหน้าห้องโดยไม่รู้ว่าเหตุการณ์ของเพื่อนคนก่อนหน้าเราจะเล่าอย่างไร เมื่อเพื่อนเล่าเสร็จก็ต้องรีบคิดเป็นภาษาอังกฤษเพื่อต่อเรื่องราวของนิทาน ฝึกทำงานกันเป็นกลุ่ม(cooperative learning )โดยให้แต่ละคนช่วยกันทำงานและช่วยกันระดมความคิดว่าจะให้งานออกมาอย่างไร และสุดท้ายใช่วิธีบูรณาการณ์โดยนำเรื่องทั้งมารวมเข้าด้วยกันและสรุปให้เหลือแค่ 3 ประโยค ซึงการจัดกิจกรรมแบบนี้ ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและมีผลดีต่อทั้งนักเรียน และการอสนของอาจารย์ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้สนุกสนานแบบมีความรู้และจะได้ประเมินผู้เรียนจากการลงมือปฏิบัติจริงได้อีกด้วย
ใช้ไหวพริบปฏิภาณกับต่อเรื่องราวแบบทันที
จากกิจกรรมที่ได้ทำในการเข้าอบรมในครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้กิจกรรมง่ายๆที่นำมาใช้ได้จริง ทั้งยังทำให้สร้างทักษะหลายๆด้านควบคู่กัน ทั้ง thinking skill ที่ทำงานแบบคนเดียวและทำงานแบบเป็นกลุ่ม ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ใช้ไหวพริบปฏิภาณกับต่อเรื่องราวแบบทันที

จากการที่ได้เรียนในช่วงบ่ายในหัวข้อเรื่อง การสอนในศตวรรษที่ 21 หัวข้อที่ดิฉันสนใจ คือการจัดการเรียนการสอนแบบ The Flipped Classroom

ทักษะการฟังไม่สามารถพัฒนาขึ้นในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ฟังครั้งนึงไม่กี่นาทีแต่เน้นฝึกบ่อยๆ จะได้ผลดีกว่าการฟังครั้งนึงเป็นชั่วโมงแต่ฝึกแค่สัปดาห์ละครั้งนะคะ
ถ้าใครรู้สึกว่าสกิลเริ่มพัฒนาขึ้นแล้ว ระหว่างฟังจะฝึกพูดไปด้วยก็ได้ค่ะ การพูดตามจะทำให้เราโฟกัสกับสิ่งที่ฟังมากขึ้น และเป็นการรีเช็คให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย

การเตรียมรับมือ ปรับเปลี่ยนการสอน
สถานการณ์ของโลกยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปสู่การนำวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกแกมนุษย์ทุกซอกทุกมุมบนโลกกลายเป็นแหล่งเก็บรวบรวมองค์ความรู้ขนาดใหญ่ที่หากสนใจอยากรู้ก็สามาค้นหาได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพียงแค่คลิ๊กเข้าไป เป็นเพราะโฃกของเราเริ่มเดินไปส่ศตวรรษที่ 21 ศตวรรษที่ ความรู้หาได้ง่ายดาย แต่การพัฒนาให้มนุษย์มี ทักษะเป็นนัยที่สำคัญยิ่งกว่า
                จากการที่ได้อบรมช่วงบ่ายในหัวข้อเรื่อง การสอนในศตวรรษที่ 21 หัวข้อที่ดิฉันสนใจ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ The Flipped Classroom เป็นการจัดการเรียนการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมในวงการศึกษาบ้านเราอยู่ในขณะนี้ ซึ่งการสอนแบบนี้ไม่ได้ต้องการนักเรียนที่ท่องเก่ง เรียนเก่ง แต่อยากได้ผู้เรียนที่ใฝ่รู้ และวิธีการเรียนรู้ (Learning Skill) ครูต้องสอนแต่สิ่งสำคัญแล้วฝึกให้เด็กสามารถมีความรู้เพื่อไปต่อยอดเองได้ จึงได้เปลี่ยนเป้าหมายจากครูเป็นหลักเป็นให้นักเรียนเป็นหลัก โดยครูปรับบทบาทเป็น Coach หรือ Facilitator เพื่อให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริง และเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning
                วิธีการสอน คือ การที่ครูนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ โดยใช้ Youtube เป็นสื่อกลางที่ครูผ็สอนจะบันทึกวิดีโอการสอนให้เด็กไปดูที่บ้าน แล้วครูใช้ชั้นเรียนสำหรับชี้แนะนักเรียนให้เข้าใจแก่นความรู้ หรือชี้แนพในการที่เด็กได้รับมอบหมายจะดีกว่า เนื่องด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก เว็บไซต์ต่างๆ อย่างเช่น Youtube ก็อักแน่นไปด้วยความรู้ต่างๆที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยครูไม่ต้องคอยมารอรับความรู้ในชั้นเรียนเพียงช่องทางเดียว ดังนั้นในห้องเรียนกลับด้านครูจะแจกสื่อให้นักเรียนไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน หรืออาจให้เด็กไปดูสื่ออย่าง Youtube เมื่อมาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้น นักเรียนจะซักถามข้อสงสัยต่างๆจากนั้นก็ลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยมีครูคอยให้คำแนะนำตอบข้อสงสัย

                สรุปการเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่จำเป็นต้องปรับกระบวนการเรียนรู้ โดยการจัดการศึกษาในยุคใหม่มี่ครูทำหน้าที่ในการเป็นผู้ชี้แนะแก่เด็ก โดยเด็กต้องเรียนด้วยตนเอง ซึ่งการที่เด็กเรียนรู้เนื้อหาล่วงหน้าที่บ้านมาแล้วพูดคุยในชั้นเรียนนั้น จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้นมากกว่าการสอนแบบเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น