วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ฝึกทักษะการฟัง
                ทำอย่างไรให้เก่งภาษาอังกฤษ อยากเก่งภาษาอังกฤษก็ต้องดูหนังเยอะๆเป็นประโยคที่ออกมาจากปากคนเก่งภาษาอังกฤษทั้งที่จบมาทางภาษาโดยตรงและเรียนจบทางอื่นมาแต่ได้ทำงานในบริษัทของช่าวต่างชาติ ทุกครั้งที่ได้ยินประโยคนี้ก็คิดในใจทุกครั้งว่า เราก็ดูหนังฝรั่งมาตั้งแต่เด็กน่ะดูมาตลอดเลย แต่ว่าทำไมถึงไม่เก่งกับเขาบางเลย ก็เลยคิดว่าวิธีนี้คงให้ไม่ได้ผลกับทุกคนแน่นอน
                วันหนึ่งข้อความในเว็บบน internet ว่า ดูหนังยังไงให้พูดภาษาอังกฤษได้ก็ได้เปิดเข้าไปอ่านในบทความนั้นบอกว่า คนส่วนใหญ่ดูหนังฝรั่งแบบผิดวิธี ดูทั้งชีวิตยังไม่เก่งขึ้นเลย เป็นเพราะสิ่งที่คนส่วยใหญ่ดู คือหนังฝรั่งจริงแต่ดูแบบซับไทย แบบเนื้อแท้เลยว่าเราตั้งใจฟังหรือเราตั้งใจอ่านซับมากกว่ากัน สุดท้ายการดูหนังแบบนี้ถ้าเพื่อการบันเทิงไม่มีปัญหาอะไรน่ะ แต่ถ้าอยากฝึกภาษาอังกฤษเป็นวิธีนี้ถือว่า    ห่วยมากไม่เวิร์คเลย เพราะสุดท้ายเอาเข้าจริงกลายเป็นว่าเราฟังเขาพูดแบบตั้งใจจริงๆน้อยมากจนบางครั้งอาจจะไม่ได้ฟังเลย แค่ได้ยินผ่านหูไป (ฟังกับได้ยินคนอย่างกัน) เพราะใจเราไปโฟกัสกับการฟังซับแล้วทำให้ไม่ได้สนใจสิ่งอื่นๆเมื่ออ่านย่อหน้านี้จบก็ย้อนมองดูตัวเองทันทีว่า ที่เราดูหนังฝรั่งมาตั้งแต่เด็กแต่ก็ยังไม่เก่งเป็นเพราะแบบนี้นี่เอง
                จากนั้นจึงได้เริ่มปฎิบัติใหม่ โดยการที่จะหาหนังมาดูโดยไม่มีซับ หนังที่เลือกคือ  How the  Grinch Stole Christmas สาเหตุที่เลือกหนังเรื่องนี้ อาจารย์ต่างชาติสอนเรื่อง   Christmas Day และเปิดหนังให้ดูเรื่อง Home Alone ซึ่งทำให้ดิฉันนึกถึงหนังเรื่องนี้ซึ่งเคยดูเมื่อตอน 15 ปีที่แล้ว แต่ในครั้งนี้จะได้ดูอีก ครั้งนี้โดยไม่มี subtitle  เนื่องจากเข้าใจเรื่องทั้งหมดอยู่แล้ว ขณะที่ดูหนังจะฟังออกบางตัวละครเท่านั้น แต่บางคำก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ ประโยคที่ฟังออกโดยทั้งหมดเคยได้ยินมาก่อนอยู่แล้วและประโยคที่เคยใช้พูดในชีวิตจริง ทำให้รู้สึกดีใจมากที่ฟังออกและได้แนวทางที่จะฝึกฝนที่จะ
                สรุป การฝึกทักษะการฟังจากการดูหนังนั้นต้องฝึกฝนโดยการดูหนังแบบไม่มีซับและหนังที่ควรเลือกมาดูควรเป็นหนังที่ชอบ เพราะถ้าหากไม่ใช้หนังที่ชอบจะทำให้รู้สึกเบื่อ เพราะไม่เข้าใจว่าตัวละครพูดว่าอะไรและยังต้องนั่งดูเป็นเวลานานหรืออาจเป็นหนังที่มีตังละครที่ตงเองชอบอยู่ เพื่อช่วยให้ดูซ้ำได้อีกรอบในตอนที่ไม่เข้าใจ  













ทักษะการอ่าน
                ปัจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สำคัญอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลก การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อติดต่อสื่อสารให้เข้าใจแนวทางเดียวกันให้ชัดเจนและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทั่วโลก เพราะโลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งสังคมข่าวสารและสาสนเทศเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษจึงเป็นทักษะสำคัญที่ทุกๆคนจะต้องฝึกและเรียนรู้ รวมถึงการอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร เป็นต้น ที่เราจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจทุกครั้งที่อ่าน พูดและเขียน
                ทักษะการพูด หรือ Speaking เป็นทักษะสำคัญในการฝึกฝนภาษาอังกฤษของคนไทยที่ยังใช้ได้ไม่ค่อยดีนักเป็นเพราะไม่ค่อยพูดจึงทำให้พัฒนาช้า มีทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ทักษะการพูดพัฒนาได้ คือการพูด พูด พูด ออกไปให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในช่วงแรกอาจจะดูผิดบ่อยนึกคำคัพท์ไม่ออกหรือยังเรียบเรียงประโยคถูกๆผิดๆบ้าง ก็อย่าเพิ่งยอมแพ้ โดยเฉพาะถ้าถูกตำหนิหรือแซวจากคนใกล้ตัวให้บอกเขาไปเลยว่าเรากำลังฝึกฝนอย่างจริงจัง ถ้าเห็นว่าเรายังบกพร่องตรงไหนขอคำแนะนำด้วย
                จากที่ดิฉันได้อ่านข้อความข้างต้นข้างบนจบก็เริ่มปฎิบัติทันทีโดยการพูดกับเพื่อนใช้คำศัพท์ง่ายพูดกัน แต่ถ้าบางคำนึกไม่ออกก็จะใช้ภาษาไทยพูดทับศัพท์จึงทำการสนทนาภาษาอังกฤษภายในกลุ่มกลายเป็นเรื่องเฮฮา เพื่อนบางคนที่เป็นคนไทยแท้ส่วนใหญ่จะออกเสียงคำที่มีตัว “Y” ไม่ชัด เช่น คำว่า “Year” เยียร์ เพื่อนจะออกเสียงเป็น เฮียร์นอกจากนี้ดิฉันและเพื่อนๆก็ตั้งกลุ่มแชทกัน โดยเพื่อนๆจะสนทนากันเป็นภาษาอังกฤษ และเมื่อคนไหนพิมพ์ผิด Grammar คนที่รู้ก็จะบอกและแก้ประโยคให้หรือบางครั้งไม่แน่ใจในการออกเสียงของคำศัพท์ ก็จะเกิดการถกเถียงกันในกลุ่ม แต่สุดท้ายก็จบการถกเถียงด้วยการถามพี่กูหรือว่าGoogle นั้นเอง การสนทนาในกลุ่มเพื่อนมีข้อดีคือได้สนทนาแบบไม่เขินอาย และข้อเสียคือ เวลาพูดหรือแชทแล้วใช้ประโยคที่ผิดไม่มีผู้รู้มาคอยแก้ไขแนะนำให้ตลอดเวลา
                สรุป การฝึกทักษะการพูดจะต้องมีความกล้ามีคำศัพท์ในหัวเยอะๆแต่แค่นี้ยังคงไม่พอจะต้องมีความเพียรขยันพูดออกเสียงบ่อยๆ และที่สำคัญคือ หากออกเสียงผิดหรือไม่มั่นใจในประโยคก็ควรจะวิ่งหาผู้รู้ เช่น Google การออกเสียง อาร์จารย์ ไวยากรณ์ หรือเจ้าของภาษาการใช้ประโยค เพื่อที่จะได้พัฒนาทักษะการพูดได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
               




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น