วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การฝึกพูดภาษาอังกฤษให้เก่งด้วยตัวเอง

การฝึกพูดภาษาอังกฤษให้เก่งด้วยตัวเอง
ทำอย่างไรถึงจะพูดภาษาอังกฤษได้ เป็นคำถามที่ได้ยินบ่อยครั้ง แต่กี่ครั้งที่คำถามนี้จะมีคำตอบ หรือมีการสานต่อประประโยคให้เป็นการกระทำอันเกิดผลลัพธ์เราจะมาดูกันว่าหากต้องการฝึกหรือพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเราจะมีวิธีการหรือขั้นตอนที่เราสามารถฝึกได้เองอย่างไรบ้าง
บางคนบอกตัวเองว่าเราไม่ค่อยฉลาด เรียนไม่ค่อยเก่ง ไม่มีหัวด้านภาษาคงพูดไม่ได้หรอก หรือคงใช้เวลาเรียนอีกนาน เบื้องต้นผู้เรียนพึงรู้ไว้ก่อนว่าการที่จะสามารถพูดภาษาใดๆได้ไม่เกี่ยวข้องกับความฉลาดของบุคคล เพราะทุกๆคนสามารถพูดได้แน่ๆอยู่แล้วหนึ่งภาษาถึงแม้ว่าคนๆนั้นจะไม่ฉลาดเลยก็ตาม นั่นเป็นผลมาจากการที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อมของการใช้ภาษานั้นๆและเกิดการเอาตัวรอดท่ามกลางการใช้ภาษา สุดท้ายเราก็จะพูดภาษานั้นได้ ยกตัวอย่างคนที่ไปเรียนต่างประเทศบางคนยังติดเพื่อนคนไทย ไปไหนมาไหนจะทำอะไรก็ต้องเกาะกลุ่มเพื่อนคนไทยไว้ก่อน ผลลัพธ์คือพูดภาษาอังกฤษไม่ได้หรือไม่คล่องตามที่ควรจะได้จากการไปอยู่ต่างประเทศ แต่คนที่เอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมของการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษตลอดทั้งวันจะทำให้การรับรู้ การพูด การคิด การตอบสนองต่อภาษาเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่นานเขาเหล่านั้นก็สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ดังนั้นการพูดภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถฝึกฝนได้

ข้อควรปฎิบัติสำหรับการฝึกพูดภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
1. พยายามอย่ากังวลเรื่องแกรมม่า (Grammar) เพราะแกรมม่าคืออุปสรรค์ตัวฉกาจของการพูด มันจะฉุดเราให้พูดได้ช้าลง เพราะการที่เรามัวแต่คิดเรื่องความถูกต้องของโครงสร้างประโยคเราจะประมวลผลไม่ทัน อาจทำให้ไม่ได้พูดเนื่องจากอีกฝ่ายพูดเรื่องอื่นไปแล้ว การคำนึงถึงหลักแกรมม่าจะทำให้เราเกิดการกลัวความผิดพลาดสุดท้ายจะเกิดอาการอายและกลัวที่จะพูดออกมา ดังนั้นเวลาพูดควรอาศัยความเคยชินของประโยค แล้วหากไม่เคยพูดจะเอาความเคยชินมาจากไหน ความเคยชินจะเกิดจากการฝึกตามบทความตอนที่แล้วคือการอ่านและการฟัง หากเราอ่านและฟังบ่อยๆ ดูหนังบ่อยๆ อ่่านหรือดูสารคดี หรือ YouTube ที่มีการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษบ่อยๆจะทำให้เราคุ้นชินกับการใช้ประโยค หรือคำศัพท์ต่างๆ ถ้าเราได้ลองฝึกพูดตามสิ่งที่เราได้ยินหรือได้อ่านจะทำให้เราพูดได้แบบเป็นธรรมชาติมากกว่าต้องมานั่งคิดว่าประโยคประมาณนี้กาลเวลานี้ต้องใช้โครงสร้างประโยคใดเรียงอย่างไรผันกริยาอย่างไร
2. เวลาจำศัพท์ให้จำเป็น วลี (Phrase) หรือ ประโยค (Sentence) อย่าพยายามจำเป็นคำ (Word) บางทีเราทราบความหมายของคำศัพท์แต่พอถึงเวลาพูดกลับไม่รู่ว่าศัพท์คำนี้ใช้อย่างไร หรือใช้ในกรณีไหน ดังนั้นเวลาเปิดศัพท์หรือจำศัพท์แนะนำให้จำมาเป็นวลีหรือประโยคเลย ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น เราเจอประโยคที่บอกว่า “I am so sick of being sick” ส่วนมากหากเราไม่รู้ความหมายของคำว่า Sick เราก็จะเปิดหาและพบว่าความหมายคือป่วย แต่หากเราจำและฝึกพูดทั้งประโยคเราจะรู้ว่า sick สองตัวในประโยคมีความแตกต่างกันเล็กน้อย sick ตัวแรกความหมายจะแอกแนว เบื่อ หงุดหงิด ทนไม่ไหว โดยทั้งประโยคจะมีความหมายประมารว่า ฉันเบื่อมากกับการเจ็บป่วยเป็นต้น
3. พยายามไม่แปลหรือถอดคำจากไทยเป็นอังกฤษ และพยายามเรียนรู้สำนวน (Idiom)ให้มากที่สุด ยกตัวอย่างหนึ่งประโยคที่เคยได้ยินมา หยิงสาวต้องการบอกกับแฟนหนุ่มว่าสิ่งที่เขาเพิ่งพูดไปเขาแค่พูดเล่นๆ หรือล้อเล่น หญิงสาวพูดอย่างมั่นใจว่า “I speak play play” พร้อมกับหัวเราะชอบใจ แฟนหนุ่มยืนงงและไม่รู้ว่าแฟนสาวกำลังบอกอะไร ในสถานการณ์นี้หากเรารู้ว่าการล้อเล่น หรือพูดเล่นๆ ใช้สำนวนที่ว่า I am (just) kidding หรือ I am joking เราก็จะสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
4. พยายามแวดล้อมตัวเองด้วยการพูดภาษาอังกฤษให้ได้มากที่สุด หากเราไม่ทำเช่นนี้เราก็จะไม่มีโอกาสได้ฝึกพูดเลย ถึงแม้ว่าจะฝึกอ่านและฟังมากแค่ไหนหากปราศจากการฝึกและทดลองพูดแล้วย่อมไม่สามารถพูดได้ พยายามหาเพื่อนชาวต่างชาติหรือเข้ากลุ่มที่มีชาวต่างชาติ หากิจกรรมยามว่างทำเพื่อให้ได้มีโอกาสพูดคุย หากหาเพื่อนต่างชาติไม่ได้จริงๆอาจจะลองตั้งกฏกับเพื่อนที่กำลังฝึกภาษาเหมือนกันว่าในหนึ่งชั่วโมงถัดไปให้ทั้งสองฝ่ายสนทนาเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น วิธีนี้จะดีตรงที่ว่าเราจะไม่เขิลอายและกล้าพูดมากกว่า แต่อาจจะไม่ดีตรงที่เวลาเราพูดผิดอาจจะไม่มีคนแก้ไขให้ หรือไม่ได้เรียนรู้ประโยคอันหลากหลายที่ถูกต้องจากเจ้าของภาษาโดยตรง

ฝึกทักษะการฟัง และ ทักษะการอ่าน



ฝึกทักษะการฟัง

                ทำอย่างไรให้เก่งภาษาอังกฤษ อยากเก่งภาษาอังกฤษก็ต้องดูหนังเยอะๆเป็นประโยคที่ออกมาจากปากคนเก่งภาษาอังกฤษทั้งที่จบมาทางภาษาโดยตรงและเรียนจบทางอื่นมาแต่ได้ทำงานในบริษัทของช่าวต่างชาติ ทุกครั้งที่ได้ยินประโยคนี้ก็คิดในใจทุกครั้งว่า เราก็ดูหนังฝรั่งมาตั้งแต่เด็กน่ะดูมาตลอดเลย แต่ว่าทำไมถึงไม่เก่งกับเขาบางเลย ก็เลยคิดว่าวิธีนี้คงให้ไม่ได้ผลกับทุกคนแน่นอน

                วันหนึ่งข้อความในเว็บบน internet ว่า ดูหนังยังไงให้พูดภาษาอังกฤษได้ก็ได้เปิดเข้าไปอ่านในบทความนั้นบอกว่า คนส่วนใหญ่ดูหนังฝรั่งแบบผิดวิธี ดูทั้งชีวิตยังไม่เก่งขึ้นเลย เป็นเพราะสิ่งที่คนส่วยใหญ่ดู คือหนังฝรั่งจริงแต่ดูแบบซับไทย แบบเนื้อแท้เลยว่าเราตั้งใจฟังหรือเราตั้งใจอ่านซับมากกว่ากัน สุดท้ายการดูหนังแบบนี้ถ้าเพื่อการบันเทิงไม่มีปัญหาอะไรน่ะ แต่ถ้าอยากฝึกภาษาอังกฤษเป็นวิธีนี้ถือว่า    ห่วยมากไม่เวิร์คเลย เพราะสุดท้ายเอาเข้าจริงกลายเป็นว่าเราฟังเขาพูดแบบตั้งใจจริงๆน้อยมากจนบางครั้งอาจจะไม่ได้ฟังเลย แค่ได้ยินผ่านหูไป (ฟังกับได้ยินคนอย่างกัน) เพราะใจเราไปโฟกัสกับการฟังซับแล้วทำให้ไม่ได้สนใจสิ่งอื่นๆเมื่ออ่านย่อหน้านี้จบก็ย้อนมองดูตัวเองทันทีว่า ที่เราดูหนังฝรั่งมาตั้งแต่เด็กแต่ก็ยังไม่เก่งเป็นเพราะแบบนี้นี่เอง

                จากนั้นจึงได้เริ่มปฎิบัติใหม่ โดยการที่จะหาหนังมาดูโดยไม่มีซับ หนังที่เลือกคือ  How the  Grinch Stole Christmas สาเหตุที่เลือกหนังเรื่องนี้ อาจารย์ต่างชาติสอนเรื่อง   Christmas Day และเปิดหนังให้ดูเรื่อง Home Alone ซึ่งทำให้ดิฉันนึกถึงหนังเรื่องนี้ซึ่งเคยดูเมื่อตอน 15 ปีที่แล้ว แต่ในครั้งนี้จะได้ดูอีก ครั้งนี้โดยไม่มี subtitle  เนื่องจากเข้าใจเรื่องทั้งหมดอยู่แล้ว ขณะที่ดูหนังจะฟังออกบางตัวละครเท่านั้น แต่บางคำก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ ประโยคที่ฟังออกโดยทั้งหมดเคยได้ยินมาก่อนอยู่แล้วและประโยคที่เคยใช้พูดในชีวิตจริง ทำให้รู้สึกดีใจมากที่ฟังออกและได้แนวทางที่จะฝึกฝนที่จะ

                สรุป การฝึกทักษะการฟังจากการดูหนังนั้นต้องฝึกฝนโดยการดูหนังแบบไม่มีซับและหนังที่ควรเลือกมาดูควรเป็นหนังที่ชอบ เพราะถ้าหากไม่ใช้หนังที่ชอบจะทำให้รู้สึกเบื่อ เพราะไม่เข้าใจว่าตัวละครพูดว่าอะไรและยังต้องนั่งดูเป็นเวลานานหรืออาจเป็นหนังที่มีตังละครที่ตงเองชอบอยู่ เพื่อช่วยให้ดูซ้ำได้อีกรอบในตอนที่ไม่เข้าใจ  

ทักษะการอ่าน

                ปัจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สำคัญอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลก การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อติดต่อสื่อสารให้เข้าใจแนวทางเดียวกันให้ชัดเจนและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทั่วโลก เพราะโลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งสังคมข่าวสารและสาสนเทศเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษจึงเป็นทักษะสำคัญที่ทุกๆคนจะต้องฝึกและเรียนรู้ รวมถึงการอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร เป็นต้น ที่เราจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจทุกครั้งที่อ่าน พูดและเขียน

                ทักษะการพูด หรือ Speaking เป็นทักษะสำคัญในการฝึกฝนภาษาอังกฤษของคนไทยที่ยังใช้ได้ไม่ค่อยดีนักเป็นเพราะไม่ค่อยพูดจึงทำให้พัฒนาช้า มีทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ทักษะการพูดพัฒนาได้ คือการพูด พูด พูด ออกไปให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในช่วงแรกอาจจะดูผิดบ่อยนึกคำคัพท์ไม่ออกหรือยังเรียบเรียงประโยคถูกๆผิดๆบ้าง ก็อย่าเพิ่งยอมแพ้ โดยเฉพาะถ้าถูกตำหนิหรือแซวจากคนใกล้ตัวให้บอกเขาไปเลยว่าเรากำลังฝึกฝนอย่างจริงจัง ถ้าเห็นว่าเรายังบกพร่องตรงไหนขอคำแนะนำด้วย

                จากที่ดิฉันได้อ่านข้อความข้างต้นข้างบนจบก็เริ่มปฎิบัติทันทีโดยการพูดกับเพื่อนใช้คำศัพท์ง่ายพูดกัน แต่ถ้าบางคำนึกไม่ออกก็จะใช้ภาษาไทยพูดทับศัพท์จึงทำการสนทนาภาษาอังกฤษภายในกลุ่มกลายเป็นเรื่องเฮฮา เพื่อนบางคนที่เป็นคนไทยแท้ส่วนใหญ่จะออกเสียงคำที่มีตัว “Y” ไม่ชัด เช่น คำว่า “Year” เยียร์ เพื่อนจะออกเสียงเป็น เฮียร์นอกจากนี้ดิฉันและเพื่อนๆก็ตั้งกลุ่มแชทกัน โดยเพื่อนๆจะสนทนากันเป็นภาษาอังกฤษ และเมื่อคนไหนพิมพ์ผิด Grammar คนที่รู้ก็จะบอกและแก้ประโยคให้หรือบางครั้งไม่แน่ใจในการออกเสียงของคำศัพท์ ก็จะเกิดการถกเถียงกันในกลุ่ม แต่สุดท้ายก็จบการถกเถียงด้วยการถามพี่กูหรือว่าGoogle นั้นเอง การสนทนาในกลุ่มเพื่อนมีข้อดีคือได้สนทนาแบบไม่เขินอาย และข้อเสียคือ เวลาพูดหรือแชทแล้วใช้ประโยคที่ผิดไม่มีผู้รู้มาคอยแก้ไขแนะนำให้ตลอดเวลา

                สรุป การฝึกทักษะการพูดจะต้องมีความกล้ามีคำศัพท์ในหัวเยอะๆแต่แค่นี้ยังคงไม่พอจะต้องมีความเพียรขยันพูดออกเสียงบ่อยๆ และที่สำคัญคือ หากออกเสียงผิดหรือไม่มั่นใจในประโยคก็ควรจะวิ่งหาผู้รู้ เช่น Google การออกเสียง อาร์จารย์ ไวยากรณ์ หรือเจ้าของภาษาการใช้ประโยค เพื่อที่จะได้พัฒนาทักษะการพูดได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ดูหนังยังไงให้พูดภาษาอังกฤษได้


ดูหนังยังไงให้พูดภาษาอังกฤษได้


การดูหนังฝรั่งบ่อยๆทำให้เก่งภาษาอังกฤษจริงหรือ คนส่วนใหญ่ดูหนังแบบผิดวิธี ดูมาทั้งชีวิตไม่เก่งขึ้นเลย เป็นเพราะสิ่งที่คนไทยดูส่วนใหญ่ คือดูหนังฝรั่งจริงแต่ดูซับไทยไปด้วย ทำให้ตั้งใจอ่านซับมากกว่าตั้งใจฟัง สุดท้ายการดูหนังแบบนี้ถ้าเพื่อความบันเทิงไม่มีปัญหา

ไร แต่ถ้าอยากฝึกภาษาอังกฤษด้วย วิธีนี้ถือว่าด้อยมาก เพราะสุดท้ายเอาเข้าจริงกลายเป็นว่าเราได้ฟังเขาพูดแบตั้งใจจริงๆน้อนมาก จนบางครั้งอาจจะไม่ได้ฟังเลยแค่ได้ยินผ่านหูไป เพราะใจไปโฟกัสกับการอ่านซับทำให่ไม่ได้สนใจสิ่งอื่น

                จะฝึกภาษาอังกฤษมากขึ้นต่อไปต้องดูแบบซับอังกฤษใช่หรือไม่ คำตอบคือดีขึ้นมาหน่อยแต่ก็ง่อยเหมือนกัน เพราะหัวใจของการฝึกภาษาอังกฤษด้วยการดูหนังคือฝึกฟัง ฝึกโดยดูประกอบกับเรื่องราวตามเนื้อเรื่อง ถ้าฝึกฟังและดูมากพอจะสามารถเข้าใจหความหมาย word , phrases หรือ sentences เป็นแบบภาพอัตโนมัติ โดยไม่ต้องแปลความหมายเป็นภาษาไทยด้วยซ้ำ ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้คำศัพท์ตามระบบของ Mind English อย่างพอดี แต่การดูหนังแบบ Sub Eng ก็ไม่ตอบโจทย์ เพราะสุดท้ายภาพที่เกิดขึ้นจริงคือ เรามัวแต่การจดจ้องกับซับ พยายามอ่านและแปลให้ทันเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องสุดท้ายที่จะได้ฝึกฟัง กลายเป็นฝึกอ่านไป แต่ก็ยังดีที่ได้ฝึกภาษาอังกฤษเพิ่ม  ทำให้อ่านเก่งและไวขึ้น แต่ในแง่การฟัง-พูดก็ยังไม่ตอบโจทย์ สุดท้ายดูหนังจนตาเป็นต้อ ยังไงสุดท้ายก็ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อยู่ดี

                การดูหนังเพื่อให้พูดภาษาอังกฤษได้มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ

-                   แบบแรก คือ แบบเบาๆคือดูหนังปกติดูเพื่อความเพลิดเพลินเป็นหลัก แต่ขอฝึกภาษาอังกฤษเป็น

น้ำจิ้มด้วย ถ้าดูหนังแบบนี้เวลาดูฝรั่ง Soundtrack ซับไทย ( แต่อย่าดูภาคไทย ) ให้ลดความตั้งใจอ่านซับให้ลดลง เปิดหูเพื่อการได้ยินมากขึ้น ตาของเราแทนที่จะโฟกัสไปที่บรรทัดล่างที่ซับขึ้น ให้โฟกัสไปที่ปากของตัวละครและพยายามฟังให้มากขึ้น อันไหนไม่ไหวจริงๆ ไม่รู้เรื่องจริงค่อยเหลือบตาไปมองซับ สำหรับการฝึกแบบนี้จริงๆคือ ชิล อย่าไปเรียกว่าฝึก เพราะจริงๆแค่ปรับเปลี่ยนวิธีดูหนังซึ่งจะทำให้เราฟัง-พูดกับฝรั่งเก่งขึ้น 10-20%

-                   แบบที่สอง คือ สุดยอดเทคนิดการดูหนัง ที่เป็นการดูหนังเพื่อการฝึกภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง ถ้าทำ

ตามนี้ได้ คุณจะคุยกับฝรั่งได้ดีขึ้น 2 เท่าหรือ 200% เป็นอย่างต่ำ แน่นอนอันดับแรกเลือกหนังมาหนึ่งเรื่องหรือซีรี่ย์มาหนึ่ง ( เอาเรื่องที่ชอบมากๆรวมถึงเอาหนังสือของอเมริกันเท่านั้น จะได้ฝึกสำเนียงอเมริกาซึ้งเป็นสำเนียงมาตราฐานไปเลย ) และควรลงทุนซื้อเป็น DVD เลยไม่ควรดูผ่านเน็ต เพราะ DVD สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นซับไทย Eng หรือ No Sub ไปเลยก็ได้

                สุดยอดเทคเทคนิคการดูหนังมีทั้งหมด 3 ขึ้นด้วยกัน คือ ขั้นที่ 1 ดูแบบปกติดู 1 รอบ เป็นsound track มีซับภาษาไทย ดูเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่อง แต่ระหว่างดูนอกจากเปิดตา เพื่ออ่านซับแล้ว แนะนำให้เปิดหูให้มากขึ้น ลองพยายามฟังแล้วจับใจความว่าตัวละครพูดว่าอะไร แต่อย่าไปซีเรียสมาก ฟังไม่รู้เรื่องก็ช่างมัน เน้นเข้าใจเนื้อเรื่อง แต่ลองเป็นเรื่องที่ชอบจริงๆ อาจข้ามขั้นตอนนี้ไปก็ได้ ถ้าเรารู้เนื้อหาทั้งหมดแล้ว

                ขั้นที่ 2 หลังจากเราเข้าใจเรื่องราวแล้ว ดูขั้นที่ 2 จะเป็นการดูหนังโดยดูแบบ Sub Eng ครั้งนี้เราจะเน้นการฟัง ฟังแล้วฟัง ดวงตาจับจองที่ปากตัวละคร แล้วเปิดหูให้กว่าที่สุดใน 3 โลก อย่าจดจ้องที่ซับ เพราะเราจะฝึกฟัง ไม่ได้ฝึกอ่าน พยายามฟังให้รู้ว่าตัวละครพูดอะไร ถ้าฟังไม่ออกจริงๆ ค่อยเหลือบดูซับ Eng ด้านล่าง แต่ถ้าดูไม่ทันก็ช่างมัน อย่าไปซีเรียส ชิลๆ เพลิดเพลินไปกับมัน พอดูจบก็ดูซ้ำแบบ Sub Eng เหมือนเดิมเลย ตาจับจ้องที่ปาก หูผึ่งตั้งใจฟัง ตรงไหนที่รอบก่อนฟังไม่ทัน ไม่รู้พูดว่าอะไร ก็ผึ่งหูมากขึ้นหน่อย ถ้าไม่ไหวจริงๆก็เหลือบมาดูซับได้ บางทีอาจจะต้องดูซ้ำ 5-10 รอบขึ้นไป

                สิ่งห้ามก็คือ  ห้ามเปิด Dictionary ห้ามแปล ศัพท์ไหนที่ไม่รู้ ไม่ต้องแปล ปล่อยมันไป ถ้าคุณฟังบ่อยมากพอจนฟังออกทั้งหมด ศัพท์ยากที่ไม่รู้คำแปล แต่คุณจะรู้ความหมายของมันเพราะคุณเข้าใจเนื้อเรื่องจริงๆแล้ว คุณพอจะเดาได้แบบอัตโนมัติว่าคำนี้ ว่าจะหมายถึงอะไร ประมาณไหน แต่ถ้าคุณอยากเรียนรู้คำศัพท์ เพิ่มศัพท์เข้าคลังสมองจริงๆคุณต้องใช้วิธีการเรียนรู้คำศัทพ์แบบเป็นระบบ

                ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนที่2 ต้องฟัง ฟัง แล้วก็ต้องฟังดูหนังเรื่องเดิมๆ ก็รอบก็ตามจนคุณฟังมันรู้เรื่องจนฟังรู้เรื่องทั้งหมด และมีกฎสองข้อให้ยึดมั่น ข้อแรกรายละเอียดตามที่กล่าวมาข้อสอง คำเดียวสั้นๆ คือ ชิล ฟังไม่ออกอย่าไปหัวเสีย ฟังไม่ออก รอบหน้าตั้งใจฟังใหม่ดูเอาสนุก เอามันส์กับหนังที่ตัวเองรัก

                ขั้นที่3 ที่เราดูหนังแบบไร้ซับ รอบแรกๆ ( 1- 2รอบ ) เราจะฟังแบบเป็นธรรมชาติและดูหนังเหมือนเราดูหนังไทยแบบปกติ เราจะรู้สึกสนุกกับมัน ถ้าเราฟังออกฟังไม่ทันหมด ว่าใครพูดอะไรยังไงบ้าง ดูชิลๆแบบพักผ่อน เน้นเชื่อมโยงความหมายกับคำศัพท์ หรือบางคำศัพท์หรือบาง idiom ที่เราไม่รู้ก็ซึมซับมันและพยายามคาดเดาความหมายตามบริบทของหนังโดยไม่ต้องเปิด dictionary

                ในรอบหลังๆจินตนาการว่าตัวเองเป็นพระเอกหรือนางเอกของเรื่อง พอตัวเอกพูดจบท่อนนึงเรากด pause และฝึกพูดตามให้พยายามเลียนเสียงให้แป๊ะมากที่สุด ทำแบบนี้ทั้งเรื่อง พอเริ่มคล่อง รอบหลังให้ใส่ฟีลลิ่งไปด้วย ใส่ความหมายให้มันลงไปด้วย ให้นึกว่าตัวเองเป็นตัวเอกจริงๆ การดูหนังในขั้นตอนที่3 นี้จะ สิ้นสุดลง เมื่อเราเลียนเสียงได้คล่องได้เหมือนตัวละคร ที่เราเลียนแบบอย่างครบถ้วน

                ทำได้ตามนี้ แค่หนังเพียงเรื่องเดียว อาจจะใช้เวลาเยอะหน่อย กว่าจะดูจบทุกขั้นตอน สมมุติ 3 เดือน รับประกันได้เลยว่าผ่านไป3 เดือนนี้ไปแล้ว คุณจะรู้สึกว่าตัวเองฟัง-พูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่า 10 ปี ที่เรียนภาษาอังกฤษมาแน่นอน ฟังดูเหมือนนาน แต่มันเฉพาะเรื่องแรกๆ เรื่องต่อไปจะใช้เวลาลดลงอาจจะ3เดือน เหลือ 1-2เดือน แล้วค่อยมาลงเรื่องต่อๆไป ผลลัพธ์สุดท้ายคุณจะดูหนังฝรั่งแบบไม่ต้องมีซับแล้ว ฟังออกและรู้เรื่องทั้งหมดวันนั้นแหล่ะคือวันที่คุณจะคุยกับฝรั่งได้โครตคล่อง อีกอย่างพยายามทำตามขั้นตอนของเราอย่าข้ามขั้น

                ใครอยากใช้วิธีนี้ อย่าลืมกฎเหล็ก เล็กๆน้อยๆนี้

ข้อ1 ห้ามแปลคือ ห้ามเปิด dictionary ห้ามแปลเป็นภาษาไทย เจอความหมายไหนไม่รู้พยายมเดาความหมายเรา

ข้อ2 “ชิลอย่าไปซีเรียส ฟังไม่ทันก็รอฟังรอบใหม่ พูดแรกๆยังเลียนเสียงไม่เหมือน ก็ไม่เป็นไร รอบหน้าเอาใหม่

ข้อ3 ต่อเนื่องไม่ใช่วันนี้ฝึกหายไป 2 สัปดาห์มาฝึกต่อ ไม่ได้ ถ้าจะเอาจริงต้องทำทุกวัน เว้นได้วันหรือสองวันถือว่าเยอะแล้ว

                จริงๆแล้วไม่อยากให้เรียกว่าการฝึก แต่อยากให้เป็นการเปลี่ยนวิธีการดูหนังมากกว่า เพราะหนังที่เลือกมาคือหนังที่รักพร้อมจะดูเป็นสิบรอบอยู่แล้ว เปลี่ยนความสนุกเป็นความรุกคืบเปลี่ยนการดูหนังชิลๆมาให้ชีวิตวิ่งปิ๋วมากขึ้น

ADVERB of TIME




ADVERB of TIME

Adverb of time (กริยาวิเศษณ์บอกเวลา)
adverb ที่ บอกว่าการกระทำนั้นเกิดเมื่อใด ( when ) เป็นเวลานานแค่ไหน ( for how long ) และบ่อยแค่ไหน ( how often )
เช่น
When = today, yesterday, later, now, last year, after, soon, before, sometime, For how long = all day, not long, for a while, since last year, temporarily, briefly, from……to, till, until ( บางตำราแยกเป็น Adverbs of Duration [กริยาวิเศษณ์บอกระยะที่ดำเนินการมา] )
How often = sometimes , frequently, never, often, always, monthly ( บางตำราแยกหัวข้อนี้ออกเป็น Adverbs of Frequency [กริยาวิเศษณ์บอกความสม่ำเสมอ] )

                คำแสดงบอกเวลาโดยทั่วไป  today, yesterday, tomorrow, last year, last night, next week, next Sunday, the other day, the day before yesterday, the day after tomorrow

                วลีบอกเวลาที่ใช้กับ at  at eight o'clock, at three fifteen, at Christmas, at Easter, at breakfast, at lunchtimes, at night, at the weekend

                วลีบอกเวลาที่ใช้กับ in  เช่น in the autumn, in 1996, in the year 2000,  in December, in January, in the morning, in the evenings

                วลีบอกเวลาที่ใช้กับ on เช่น on Monday, on New Year’s Day, on his wedding anniversary, on the twentieth of July

                ตัวอย่าง

- I can finish my work today.

- He will start work tomorrow.

- I leave home in the morning.

- I was born on the second of January.

- She will have a job interview tomorrow.

- I'm going to the temple on my birthday.

Adverb Clause (วิเศษณานุประโยค)

         Adverb Clause คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำกริยาวิเศษณ์ตัวหนึ่งที่ใช้ขยายกริยา หรือ
คุณศัพท์ในประโยคหลัก หรือใช้ขยายประโยคหลักเพียงแสดงถึงวัตถุประสงค์บางประการ
Adverb Clause จะตามหลังสันธานที่ใช้เชื่อม เพราะอนุประโยคที่ใช้ขยายใจความในประโยคหลัก
       
Adverb Clause มีทั้งหมด 9 ชนิด แบ่งตามหน้าที่ของมัน ดังนี้

                        1 Adverb Clause of Time (วิเศษณานุประโยคที่บอกเกี่ยวกับเวลา)
                คำสันธาน ( Conjunctions ) ที่ใช้เชื่อมอนุประโยคเพื่อบอกเวลาได้แก่
when, before,after, since, as soon as , till , until , whenever

ตัวอย่างเช่น


       when , while

1. While I was walking along the street, I saw a film star yesterday.
-เมื่อวานนี้ขณะที่ผมกำลังเดินไปตามถนนอยู่ นั้นผมได้เห็นดาราภาพยนตร์คนหนึ่ง

2. She will go when her father arrives.
-เธอจะไปเมื่อคุณพ่อของเธอมาถึง

3. The alarm clock is useful when I go to bed late at night.
-นาฬิกาปลุกนั้นมีประโยชน์เมื่อผมเข้านอนดึก

หมายเหตุ 

       - ประโยคแรก Adverb Clause คือ While I was walking along the street
           ขยายกริยา saw ในประโยคหลัก
       - ประโยคที่สอง Adverb Clause คือ when her father arrives ขยายกริยาแท้
           ก็คือ go ในประโยคหลัก
       - ประโยคที่สาม Adverb Clause คือ when I go to bed late at night
          ขยายคุณศัพท์ก็คือ useful ในประโยคหลัก
ในประโยคหลัก Before

ตัวอย่าง  Before
1.I go to bed, I must read a book.
-ก่อนที่ผมจะเข้านอน ผมจะต้องอ่านหนังสือก่อน

2. You have to came to see me before I leave for Canada.
-คุณจะต้องมาพบผมก่อนที่ผมจะเดินทาง ไปประเทศแคนาดา

ตัวอย่าง After
1. After the student had left, the headmaster arrived.
-หลักจากที่นักเรียนกลุ่มนั้นออกไปแล้ว ครูใหญ่ก็ได้มาถึง

 2. He called me after he had finished his homework
-เขาโทรมาหาฉัน หลังจากที่เขาได้ทำ การบ้านของเขาเสร็จ

ตัวอย่าง Since
1. Since she arrived in Bangkok, She hasn't called me yet.
-ตั้งแต่เธอเดินทางมาถึงกรุงเทพ เธอยังไม่ได้โทรศัพท์หาผมเลย

2. He has been working in a company Since he left school.
-เขาได้ทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งเรื่อยมา ตั้งแต่เขาเรียนหนังสือจบแล้ว

ตัวอย่าง As soon as
1. Suda will leave home as soon as you arrive.
-พอคุณสุดามาถึง สุดาก็จะไปทันที

2. As soon as she finished reading the note, she rang up her mother.
-ทันที่ที่เธออ่านข้อความ นั้นเสร็จ เธอก็ได้ โทรศัพท์ไปหาคุณแม่ของเธอ

ตัวอย่าง As = while
1. Everybody laughed as I was teaching.
-ทุกคนหัวเราะ ขณะที่ผมกำลังสอน

ตัวอย่าง Till = until
1. Don't go anywhere till (until) she comes back.
-อย่าไปไหนจนกว่าเธอกลับมา

2. I won't go anywhere till (until) you let me go.
-ผมไม่ไปไหนจนกว่าคุณจะให้ผมไป

ตัวอย่าง Whenever
1. I am happy whenever you come to see me.
-ผมมีความสุขเมื่อคุณมาหาฉัน

2. Whenever she cries, I am sad.
- เมื่อไหร่ก็ตามที่เธอร้องไห้ผมก็เศร้าใจ

 การใช้ AFTER and BEFORE ในภาษาอังกฤษ

after และ before ทำหน้าที่ได้ทั้งคำบุพบท (preposition) คำเชื่อม (conjunction) และคำวิเศษณ์ (adverb)
after และ before มีความหมายต่างกัน กล่าวคือ after หมายถึง later than … (ภายหลัง, หลังจาก) ส่วน before หมายถึง earlier than … (ก่อน)
หลักการใช้
1. after และ before เป็นคำบุพบทบอกเวลา (prepositions of time) มีความหมายดังกล่าวมาข้างต้น
ตัวอย่าง
After the meal, we felt sick.
หลังจากทานอาหารเสร็จ พวกเรารู้สึกไม่ค่อยสบาย
Before 1940, few people owned a telephone.
ก่อนปี 1940 แทบไม่มีใครเลยที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์

2. ตำแหน่งนอง after-clause กับ before – clause สามารถวางได้ทั้งในตำแหน่งต้นหรือตำแหน่งท้ายประโยค
ตัวอย่าง
The airport police searched all the passengers after the plane landed.
=After the plane landed, the airport police searched all the passengers.
หลังจากเครื่องบินแล่นลงจอด ตำรวจสนามบินได้ตรวจผู้โดยสารทุกคน We cleaned the house before our friends arrived.
=Before our friends arrived, we cleaned the house.
ก่อนที่เพื่อนของเรามาถึง เราได้meความสะอาดบ้าน

3. ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ในอดีต 2 อย่าง แต่ต่างช่วงเวลากันให้ใช้Past Perfect Tense (ประกอบด้วย had + past participle) กับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน และใช้ Past Simple Tense (ประกอบด้วย past form of verb) กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง
ตัวอย่าง
The airport police searched all the passengers after the plane
had landed.
ตำรวจสนามบินได้ทำการตรวจค้นผู้โดยสารทุกคน หลังจากที่เครื่องบินได้
ร่อนลงจอดเรียบร้อยแล้ว
The plane had landed. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน
The airport police searched all the passengers.
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง
We had cleaned the house before my friends arrived.
พากเราได้ทำความสะอาดบ้าน ก่อนเพื่อนๆ จะได้มาถึง
We had cleaned the house. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน
my friends arrived เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง
4. ในกรณีที่เป็นเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต ให้ใช้รูป Present Simple Tense กับอนุประโยคท้ายคำว่า after และ before
ตัวอย่าง
I’ll see you again before you return home.
ผมจะพบคุณอีกครั้งก่อนที่คุณจะกลับบ้าน
The mother bird will continue to feed her children after they
leave the nest.
แม่นกจะเริ่มให้อาหารลูกๆ หลังจากที่พวกมันออกจากรัง
5. after และ before เมื่อทำหน้าที่คำวิเศษณ์บอกเวลา (adverb of time) คำว่า after หมายถึง “after this; after that” แปลว่า หลังจากนี้, หลังจากนั้น ส่วน before หมายถึง “before this ; before that ; before now” แปลว่า ก่อนหน้านี้, ก่อนหน้านั้น
ตัวอย่าง
At last the war was over, and not long after, the soldiers returned home.
=At last the war was over, and not long after the war was over, the soldiers returned home.
ในท้ายที่สุด สงครามก็ยุติ และไม่นานหลังจากสงครามยุติ ทหารก็ได้
เดินทางกลับมาตุภูมิ
Haven’t I met you before?
= Haven’t I met you before now?
ผมไม่เคยพบคุณมาก่อนหน้านี้หรือเปล่ า




วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ฝึกฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษ


ฝึกฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษ

            ทำไมต้องฝึกฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษ เพราะใครก็อยากเก่งภาษาอังกฤษทั้งนั้น ทักษะภาษาอังกฤษที่สำคัญที่สุด คือ ความคล่องในการพูดภาษาอังกฤษถือเป็นเป้าหมายอันดับ 1 ของคนไทย ความคล่อง (Fluency) คือการที่เราสามารถพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษอย่างรวดเร็วง่ายดาย โดยไม่ต้องมานั่งแปลทีละคำ

                ความคล่อง คือ การที่เราสามารถพูดกับเจ้าของภาษาได้โดยที่เราเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด และตัวเขาเองก็ฟังเราเข้าใจเช่นกัน การทำให้บางคนพูดคล่องบางคนฝึกโดยอัดตำราภาษาอังกฤษเข้าไป ศึกษาเข้าไป ทั้งคำศัพท์ทั้ง Grammar โดยหวังว่าเราจะพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนคนอื่น น่าเสียดายที่คุณกำลังมาทางผิด อยากพูดภาษาอังกฤษให้เก่งแต่ดันไปฝึกสกิลการอ่านจึงไม่สามารถทำให้เก่งได้

                จากการฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษจะช่วยให้เราทำความคุ้นเคยกับสำเนียงเจ้าของภาษา นอกจากนี้เราจะได้เรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการพูดทั่วๆไปด้วย สิ่งนี้หาได้ยากมากตามหนังสือเรียนภาษาอังกฤษ การฟังบทสนทนาด้วยตนเองจะเปิดโอกาสให้เราฝึกพูดตามไปด้วยต่างจากการดูหนังภาษาอังกฤษที่อาจมีการใช้คำยากๆ ซึ่งสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานมาดีพอ แทนที่จะได้ฟังกลับต้องมาเปิด Dictionary ตีความหมายเอาเอง การที่เราจะเก่งภาษาอังกฤษได้เราต้องฟังอย่างเข้าใจ และ ฟังอย่างต่อเนื่อง

                ฟังอย่างเข้าใจ ถ้าเราฟังไม่เข้าใจเราก็จะไม่เรียนรู้อะไรเลย นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมดูข่าวภาษาอังกฤษมากแค่ไหนก็ไม่ช่วยอะไรเลย เราไม่เข้าใจเพราะมันเร็วและยากเกินไป ถ้าไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็ยากที่จะเก่งขึ้นแบบก้าวกระโดดได้ หลายคนพยายามฝืนฝึกทักษะภาษาอังกฤษที่ยากละซับซ้อน ทำให้พัฒนาการได้ช้าพอสมควร ดังนั้น หลักการสำคัญ คือ ง่ายๆ จะทำให้เก่งเร็วกว่าเยอะ

                ฟังอย่างต่อเนื่อง แค่เข้าใจยังไม่พอแต่ต้องฝึกฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องด้วย ถ้าเราได้ยินคำศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่แค่ครั้งเดียวต้องลืมแน่ๆ ถ้าฟังไป 5-10 ครั้ง ก็ยังจำไม่ได้อยู่ดี มันต้องผ่านหูนับครั้งไม่ถ้วนกว่าจะซึมซับจดจำ และเข้าใจได้ทันทีที่ได้ยิน ถ้าอยากเก่งจริงๆต้องฟังอย่างน้อย 50-100 ครั้ง กว่าจะเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษทันทีที่ได้เห็น

                สรุป วิธีเก่งภาษาอังกฤษแบบง่ายๆ คือ ต้องฟังบทสนทนาภาษาอังกฤษง่ายๆ และที่สำคัญต้องฟังอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้นต้องให้เวลากับการฝึกอย่างจริงจัง เพราะการเก่งภาษาอังกฤษมันไม่มีทางลัด คนที่เก่งภาษาอังกฤษต้องผ่านความยากลำบากมาก่อนอย่างแน่นอน

Adjective Phrase

Adjective Phrase
                คำคุณศัพท์วลีทำหน้าที่อธิบายหรือขยายคำคุณศัพท์ของคำนาม noun หรือคำสรรพนาม pronoun เช่นเดียวกับคำคุณศัพท์ประเภทอื่นๆและอาจประกอบด้วยคำเพียง 1 คำ หรือหลายๆคำก็ได้ นอกจากนี้วลีประเภทอื่นๆ เช่น prepositional phrase, present participle phrase และ past participle phrase ก็ยังสามารถทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ได้ด้วย คำคุณศัพท์วลี เมื่ออยู่ในประโยคสามารถทำหน้าที่ในเชิงไวยากรณ์ได้ดังต่อไปนี้
1.ขยายคำนามที่ทำหน้าที่เป็นคำนามของประโยค
          -A tall young man comes into the room.
Tall young เป็นคำคุณศัพท์วลีขยายคำนาม man โดยมีคำนำหน้าคำนาม (Indefinite Aricle) A อยู่ด้วย
          -That slow walking creature is my ex-husband.
That slow walking เป็นคำคุณศัพท์วลี (Demonstrative Adjective) ที่ขยายคำนาม creature
2. ขยายคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา เช่น
          -They sent the badly injured man to the hospital.
badly injured เป็นคำคุณศัพท์วลีขยายคำนาม man ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา sent โดยมีคำนำหน้านาม (Definite Article) the อยู่ด้วย
          -He married the 19 year-old Japanese girl.
19 year-old Japanese เป็นคำคุณศัพท์วลีขยายนาม girl ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา married โดยมีคำนำหน้านาม (Definite Article) the อยู่ด้วย
3.ขยายคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท เช่น
           -He left the boy in the small dark room.
small dark เป็นคำคุณศัพท์วลีขยายนาม room ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท in โดยมีคำนำหน้านาม (Definite Article) the อยู่ด้วย
          -They walked across the long iron bridge. เป็นคำคุณศัพท์วลีขยายนาม bridge ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท across โดยมีคำนำหน้านาม (Definite Article) the อยู่ด้วย
4.เป็นส่วนขยาย Compliment เพื่อทำให้ใจความสมบูรณ์ของกริยา to be หรือกิยาประเภท Linking Verb หรือคำกริยาพิเศษบางคำ เช่น
          -You are absolutely right.
absolutely right เป็นคำคุณศัพท์วลีที่เป็นส่วนขยาย (compliment) ให้แก่กริยา are เพื่อให้ประโยคได้ใจความสมบูรณ์
          -He looked seriously ill.
seriously ill เป็นคำคุณศัพท์วลีที่เป็นส่วนขยาย (compliment) ให้แก่ Linking Verb “looked” เพื่อให้ได้ประโยคใจความสมบูรณ์
          -He has made his family very proud.
very proud เป็นคำคุณศัพท์วลีที่เป็นส่วนขยาย (compliment) ได้แก่ นามวลี his family ซึ่งทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา made
สรุป adjective phrase คือ คำคุณศัพท์กับคำขยายคุณศัพท์ ซึ่งจะมีทั้งส่วนขยายที่อยู่หน้าคำคุณศัพท์ ส่วนขยายที่อยู่หลังคำคุณศัพท์ ส่วนขยายที่อยู่หน้าคำคุณศัพท์ คำคุณศัพท์ และส่วนขยายคำคุณศัพท์

If – Clause

If – Clause
                If clause หรือ Condition Clause หมายถึง ประโยคที่แสดงหรือกำหนดเงื่อนไขขึ้นในเวลาที่ต่างกัน แต่เวลาที่พูดนั้นเกิดขึ้นในปัจจุบันรูปกริยาที่ต่างกันใน If – Clause เป็นเพียงตัวบ่งชี้ให้ทราบว่าเป็นเงื่อนไขแบบใดเท่านั้น
การใช้ เป็นประโยคเงื่อนไขที่ใช้แสดงว่า ถ้ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นผลของเงื่อนไขนั้นก็จะตามมาโดยไม่ต้องสงสัย
ประโยคเงื่อนไขชนิดที่ 1 นี้ สามารถแบ่งได้อีกเป็น 3 รูปแบบ คือ
                1.1 เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ
                1.2 เงื่อนไขที่ใช้ในประโยคคำสั่งหรือขอร้อง
                1.3 เงื่อนไขที่ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อเหตุการณ์ที่เป็นเงื่อนไขเกิดขึ้น ผลของเงื่อนไขนั้นก็จะเกิดตามมา
1.1 เงื่อนไขที่เป็นจริงเสมอ
If + subject + present simple , subject + present simple
หรือเราจะวาง if ไว้ตรงกลางประโยคก็ได้
                Subject + present simple + if + subject + present simple
* If clause ขึ้นต้น เครื่องหมาย comma ( , ) จะต้องอยู่หลัง if clause ทันที
* present simple = verb1( s , es )
เช่น - If we heat water , it boils.  = ถ้าเราให้ความร้อนแก่น้ำ , น้ำก็จะเดือด 
- Water changes into stream if it boils. = น้ำกลายเป็นไอถ้าน้ำเดือด นี่ก็จริงอีกค่ะ
- Water boils if it reaches 100° C.  = น้ำเดือดถ้ามีอุณหภูมิ 100 องศา
- The sun rises if it is a day. = พระอาทิตย์ขึ้นถ้าเป็นเวลากลางวัน
- If we study hard, we pass the exam. = ถ้าเรายันเรียนเราก็สอบผ่าน
1.2 เงื่อนไขที่ใช้ในประโยคคำสั่งหรือขอร้อง
If + subject +present simple , imperative / request (infinitive / don’t + infinitive)  เช่น
- If you wake up before me , give me a call. =ถ้าคุณตื่นนอนก่อนฉัน , โทรศัพท์ไปหาฉันด้วย
- Don’t disturb me if I am in my room. = อย่ารบกวนฉันถ้าฉันอยู่ในห้อง
- Don’t play game late if you have class tomorrow. = อย่าเล่นเกมดึกถ้าคุณเรียนในวันพรุ่งนี้
- Send me your email if you want me to contact you. = ส่ง e-mail คุณให้ฉันถ้าต้องการให้ฉันติดต่อคุณ
- Give Jade some money if you meet him= ให้เงินกับเจดบ้างถ้าคุณพบเขา
ข้อสังเกต ; imperative / request หรือ ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง จะขึ้นต้นด้วย infinitive without to ถ้าเป็นบอกเล่า หรือใช้ don’t + infinitive / Do not + infinitive
ถ้าเป็นปฏิเสธ
1.3 ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะเมื่อเหตุการณ์ที่เป็นเงื่อนไขเกิดขึ้นผลของเงื่อนไขนั้นก็จะเกิดตามมา
รูปประโยคบอกเล่า
If + subject+ present simple , subject + future simple
(If + subject+verb1 (s,es) , subject + (will , shall , may , can) + infinitive)  เช่น
- If Pang studies hard , she will pass the test easity.  = ถ้าแป้งขยัน , เธอก็จะสอบผ่านได้อย่างง่ายดาย
- We will stay at home if there is a good movie on TV. = เราจะอยู่บ้านถ้ามีหนังดี ๆ ทางโทรทัศน์
- Jane will change wallpaper in her bedroom if she has free time. = เจนจะเปลี่ยนวอลเปเปอร์ในห้องนอนถ้าเธอมีเวลา
รูปประโยคปฏิเสธ
If + subject +(do,does) not + infinitive, subject + will not+ infinitive  เช่น
- I won’t go anywhere if there is a heavy storm. = ฉันจะไม่ไปไหนถ้ามีพายุมา
- If it does not rain , Saya will paint her room. = ถ้าฝนไม่ตก , ซาย่าจะทาสีห้อง
- Jim won’t pass final exam if he does not attend class. = จิมจะไม่ผ่านการสอบปลายภาคถ้าเขาไม่เข้าเรียน
รูปประโยคคำถาม
If + subject +verb1 (s,es) ,(question word) + will + subject + infinitive +…....?
Don’t forget : เราใช้ shall , can , may แทน will ได้เสมอ
: นิยมทำคำถามในส่วนของ main clause เท่านั้น  เช่น
- If you win 1st prize lottery , what will you do with the enormous money ?
ถ้าคุณถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 , คุณจะทำอะไรกับเงินก้อนใหญ่
- Where will Lulu stay if she arrives London ?
ลูลู่จะพักที่ไหนถ้าเธอมาถึงลอนดอน
- How can you manage the problems if you are alone in another country ?
คุณจะจัดการกับปัญหาต่าง ๆ อย่างไร ถ้าคุณอยู่คนเดียวในต่างประเทศ