วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Tense

Tense
                ในเรื่องของ กาล (Tense)  ซึ่งเป็นหัวใจของภาษาอังกฤษและเป็นปัญหาชวนปวดหัวของคนไทย  เพราะภาษาไทยไม่ต้องกังวลกับการผันกริยาตามกาลของประโยค  เมื่อจะใช้ภาษาอังกฤษ  คำถามแรกที่จะต้องคิดคือ  เรื่องของกาล  จะเรียกทับศัพท์ว่า  Tense  เพราะมีความสำคัญต่อความหมายในประโยคมาก  พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ มันเป็นส่วนหนึ่งของความหมายในประโยคนั้นเอง
                การผันคำกริยาตาม Tense นั้นจะเกี่ยวพันไปถึงพจน์ของประธานด้วย  เพราะคำกริยาจะผันหรือเปลี่ยนแปลงตามประธานของประโยคหรือคำของกริยานั้นๆ ด้วย ซึ่งเราจะค่อยดูกันไปทีล่ะ Tense ภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย Tense หลักๆ 3 ชนิด คือ
1.             Present Tense ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2.             Future Tense  ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต
3.             Past Tense   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
และ Tense ทั้ง 3 ชนิด ยังแบ่งย่อยเป็นชนิดต่างๆได้อีก Tense ละ 4 ชนิดคือ
1.            Present Tense
1.1      Present Simple Tense
1.2      Present Continuous Tense (Present Progressive)
1.3      Present Perfect Tense
1.4      Present Perfect Continuous Tense  (Present Perfect Progressive)
2.           Future Tense 
2.1      Future Simple Tense
2.2      Future Continuous Tense (Present Progressive)
2.3      Future Perfect Tense
2.4      Future Perfect Continuous Tense  (Present Perfect Progressive)
3.           Past Tense  
3.1      Past Simple Tense
3.2      Past Continuous Tense (Present Progressive)
3.3      Past Perfect Tense
3.4      Past Perfect Continuous Tense  (Present Perfect Progressive)
รวมทั้งหมดเป็น 12  Tense แต่ในความจริงแล้ว ใช้กันอยู่เพียงไม่กี่ Tense เท่านั้น ที่เหลือก็จะใช้ในกรณีเฉพาะเจาะจง บางกรณีเท่านั้น บาง Tense ก็ไม่ได้แทบใช้เลยก็มี  เมื่อได้ทราบความของ Tense หลักๆ ทั้ง 3 Tense แล้ว ตอนนี้ก็ลองมาดูความหมายหลายชนิด ย่อย Tense หลัก เมื่อทราบความหมายเราก็พอจะเดาหน้าที่ของมันได้
คำว่า “ Simple ” แปลว่า ปกติธรรมดา  เพราะฉะนั้น  “ Present Simple ”  ก็จะใช้กับประโยคที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปกติธรรมดา ในปัจจุบัน “ Past Simple” ใช้กับประโยคที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น ปกติธรรมดา ในอดีตและในทำนองเดียวกัน “Future Simple ” ก็ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น      ปกติธรรมดา ในอนาคต
คำว่า “ Continuous ” หรือ “ Progressive ” แปลว่า กำลังดำเนินไปและยังไม่สิ้นสุด ดังนั้น “ Present Continuous” ย่อมต้องใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันที่ กำลังดำเนินไปและยังไม่สิ้นสุดในทำนองเดียวกัน    “ Past Continuous” ก็ใช้เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ กำลังดำเนินไปและยังไม่สิ้นสุด ณ ช่วงเวลานั้นๆในอดีต “Future Continuous” ก็ไม่แตกต่างกัน เพราะจะใช้กับเหตุการณ์ในอนาคต กำลังดำเนินไปและยังไม่สิ้นสุด ณ ช่วงเวลานั้นๆในอดีต
คำว่า “Perfect” แปลว่า เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ดังนั้น “ Present Perfect” จะเป็น Tense ที่ใช้กับเหตุการณ์กับปัจจุบันที่ เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ไปแล้ว ในส่วน “Past Perfect” ก็จะใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ไปแล้ว และ “Future Perfect” จะใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จะ เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ณ ช่วงเวลานั้นๆในอนาคต
คำว่า “Perfect Continuous” แปลว่า เริ่มไปแล้วและดำเนินต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ ดังนั้น “Present   Perfect Continuous” ก็จะใช้เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันที่ เริ่มไปแล้วและดำเนินต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับ “Past Perfect Continuous” ที่จะใช้เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีต เริ่มไปแล้วและดำเนินต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ ณ ช่วงเวลานั้นๆในอดีต ในทำนองเดียวกัน “Future Perfect Continuous ” ก็จะใช้กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ เริ่มไปแล้วและดำเนินต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ ณ เวลานั้นๆในอนาคต


โครงสร้างของกริยาวลีตาม Tense ประโยคต่างๆ
Present Simple Tense





ข้อสังเกตคือ มีสองเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ระหว่างที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินมาเรื่อยๆ –It was raining- อีกเหตุการณ์หนึ่งก็เกิดขึ้น-I woke up- และทั้งสองเหตุการณ์นี้ล้วนเกิดในอดีต-last night-

ข้อสังเกตคือ มีสองเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ฉันเห็นคุณ –I saw you- ระหว่างที่คุณ กำลังไปที่ไหนสักทีหนึ่ง –you were going…- ทั้งสองเหตุการณ์นี้ล้วนเกิดในอดีต –yesterday-
                **เรามักจะใช้ Past Continuous เมื่อต้องการกล่าวถึงเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน โดยมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในระหว่างที่อีกเหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่**

ข้อสังเกตคือ ประโยคกล่าวถึงสองเหตุการณ์ เมื่อเหตุการณ์หนึ่งจบลงแล้วthey  had  had dinner.-
อีกเหตุการณ์หนึ่งจึงเกิดขึ้น –They went to the movie- และทั้งสองเหตุการณ์ล้วนเกิดในอดีต
                **เรามักจะใช้ Past Perfect เมื่อต้องการกล่าวถึงเหตุการณ์สองเหตุการณ์ ที่เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นจากอีกเหตุการณ์หนึ่งจบหรือเสร็จสิ้นไปแล้ว

                ความหมายคือ เธอได้เริ่มท่องกลอนและได้ท่องกร่อนต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ จนกระทั้งเป็นลมเมื่อท่องมาได้สามชั่วโมง

 ความหมายคือ ฝนเริ่มตก –เมื่อสี่วันก่อน- และได้ตกต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆกว่าทางเทศบาลจะเอากระสอบทรายมาแจก –ก็เข้าวันที่สี่ที่ฝนตกแล้ว-


ข้อสังเกต เป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและดำเนินต่อไปเรื่อยๆในขณะใดขณะหนึ่งของช่วงเวลาในอนาคต

ข้อสังเกต เป็นเหตุการณ์ที่จะเสร็จ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต

ความหมายคือ กว่าคุณจะวิ่งตามผมทัน ผมก็กำลังวิ่งไปไกลเกินไมล์หนึ่งแล้ว

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 2

พูดถึงภาษาอังกฤษหลายคนมักมองว่า เรียนภาษาอังกฤษให้ได้ต้องฟัง  พูด  อ่าน  เขียนได้ หรือสื่อสารกับชาวต่างชาติได้แค่นั้นพอ แกรมม่าหรืออะไรที่ถูกยัดใส่หัวเพื่อท่องสอบ ไม่ต้องซีเรียส  ไม่จำเป็น สิ่งที่พูดมาก็ไม่ผิด  แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะใช้ภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิ์ภาพจริงๆทุกด้านจะต้องไปด้วยกัน บางคนสำเนียงดีมาก  แต่พูดไวยากรณ์ผิดหมด   บางคนไวยากรณ์แม่นมาก  แต่พูดและฟังไม่ได้เลย  ในขณะที่บางคนใช้ภาษาได้เปะทุกด้าน  เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษ 3 พาร์ท  นั้นก็คือ พาร์ท   แกรมม่า  คำศัพท์  และสนทนามีดังนี้
5. เทคนิคเก่งแกรมม่า
-     พื้นฐานง่ายๆต้องแม่น
ภาษาอังกฤษก็เหมือนกับภาษาไทย  ที่จำเป็นต้องเรียนรู้พื้นฐานมาก่อนเป็นจำนวนมากๆเพราะต้องใช่ต่อยอดแกรมม่าเรื่องอื่นจะเรื่อง Tense  แต่ละ  Tense  ก็ใช่  Verb คนล่ะช่อง  ก็ต้องเลือกใช้ให้ถูก  เป็นต้น
-                   กฎเหล็กข้อยกเว้นต้องจำได้
แกรมม่าเป็นเรื่องของหลักภาษาที่ค่อนข้างซับซ้อน  กำหนดมาเป็นอย่างดี  แต่สุดท้ายก็มีข้อยกเว้นแปะท้ายมาด้วย  ยกตัวอย่าง  การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์เป็นพหูพจน์เรียนกันมาว่าให้เติม  s , es ถ้าลงท้ายด้วย o ให้เติม es ได้เลย  แต่มีข้อยกเว้นอย่างเช่น  photo สามารถ photo ได้เลย ไม่ใช้  photos  เป็นต้น
-                   มีตัวอย่างเสริม
แกรมม่าภาษาอังกฤษมีเยอะพอๆ  กับหลักภาษาไทย  จะให้ท่องจำแต่หลักหรือโครงสร้างก็น่าเบื่อเกินไป  ควรมีวิธีการท่องดังนี้  หาตัวอย่างประโยคของหลักนั้นๆ  เป็นโมเดลประโยค  ทำให้ท่องจำได้ง่ายขึ้น

time
Past
Present
Future
aspect
Simple
Continuous
Perfect
Perfect
Continuous


She  worked
She  was  working
She had  worked
She had  been
working

She  works
She  is  working
She had  worked
She had  been
working

She  will  work
She  will  be  working
She  will  have  worked
She will  have  been
working




-                   อ่านเองไม่รู้เรื่อง  ต้องเข้าใจตั้งแต่ในห้องเรียน
อาจารย์แต่ละคนจะมีเทคนิคการจำที่แตกต่างกัน  ฟังให้เข้าใจในแต่ละคาบและจดเทคนิคการจำไว้  ด้วย  กลับมาอ่านเองทีหลังจะง่ายขึ้น
-                   อัพเกรดอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ
หัดอ่านหนังสือเรื่องสั้น  นิยาย  หนังสือพิมพ์ที่เป็นภาษาอังกฤษ  สื่อพวกนั้นจะทำให้ได้คำศัพท์ แปลกๆ ใหม่ๆ  ยังได้เรียนรู้อีกมากมาย
5 เทคนิคเก่ง Vocabulary
-                   มองทุกอย่างเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษ
ทางลัดอย่างหนึ่งของการรู้คำศัพท์เยอะ  คือ การทบทวนบ่อยๆ  แต่บางคนไม่มีเวลานั่งท่องศัพท์ตลอดเวลา  ไม่มีแรงกระตุ้น ก็น่าจะลองให้วิธีนี้
-                   หาคำควบคู่หรือตรงข้ามไว้ด้วย
เป็นการเรียนรู้คำศัพท์แบบก้าวกระโดด  เวลาท่องจำทีหนึ่งจะได้ไปพร้อมๆกันทีเดียว  เราก็ได้คำศัพท์มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง
-                   Crossword  puzzle
ลักษณะเกมส์ คือ เป็นตารางคำศัพท์แล้วเราก็มาอ่านอธิบายศัพท์ด้านล่าง  จากคำอธิบายต้องนึกให้ออกว่าเป็นคำว่าอะไร  ฝึกเกมส์นี้บ่อยๆได้ฝึกทั้งคำศัพท์และแปลความหมาย
-                   เตรียมสมุดจดศัพท์ไม่คุ้นเคย
จดคำศัพท์ที่เราไม่รู้ความหมาย  เพื่อที่ว่ากลับมาบ้านก็หาความรู้เพิ่ม  จดทุกวันๆสมุดเล่มนี้จะเป็นเหมือนคัมภีร์  คำศัพท์ที่คัดสรรมาแล้วเราเจออะไรในชีวิตประจำวัน
-                   ฝึกสร้างประโยคจากศัพท์
หาตัวอย่างประโยคแกรมม่าจากหนังสือเรียนและฝึกแต่งประโยคขั้นมาเอง
5.เทคนิคเก่ง Conversattion & Speaking
-                  อย่ากลัวพูดผิด
คู่สนทนาเราอาจจะอยากช่วยเหลือเราก็ได้  ก็เหมือนฝรั่งพูดไทยผิดๆ ถูกๆ ฟังดูน่ารักกรุ่มกริ่ม  อยากให้ความช่วยเหลือ
-                   หาตัวช่วยฝึกออกเสียง
ตัวช่วยเหลือการออกเสียงของเราคือ  ทอล์คกิ้งดิกชันนารี  หรือทางลัดที่สุดคือหาเพื่อนชาวต่างชาติมาคุยด้วยซะเลย
-                   อย่านึกเป็นภาษาไทย
เพราะการที่เรายึดกับไวยากรณ์ภาษาไทย  จะทำช้าและสำนวนที่ออกมาจะดูฝืนๆอีกด้วย
-                   ก่อนพูดต้องฝึกฟังด้วย
แม้เราจะฝึกพูดแต่ก็อย่าลืมให้การสำคัญกับการฟัง  ไม่ว่าจะเป็นจากคนที่เราคุยด้วยหรือการดูตามสื่อต่างๆ  การฟังจะช่วยให้เราคุยกันถูกเรื่อง  ไม่ใช่สักว่าแต่พูด  พูดกันคนละเรื่อง  ก็จะพูด  จะทำให้คู่สนทนาเบื่อเราได้
-                   ดูหนังฝรั่งที่บ้านฝึกพูดตาม
วิธีนี้เบสิคและน่าทำตามที่สุด  แถมยังฝึกคนเดียวได้เดียว  เพราะเมื่อต้องการฝึกภาษาจริงๆเราสามารถกด  pause เพื่อฝึกพูดตามได้นั้นเอง




สรุป กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา
ในยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังเฟื่องฟู  มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายลักษณะยิ่งขึ้นกว่าเดิม เกิดมีโรงเรียนสองภาษาและโรงเรียนสามภาษาที่มีภาษาอังกฤษเป็นตัวร่วมอยู่ด้วย  มีโปรแกรมอินเตอร์  ที่ใช่ภาษาอังกฤษล้วนในการเรียน การสอน การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆ เป็นใหญ่ตรงที่ว่าต้องมีสองด้านควบคู่กัน คือ ความรู้และทักษะ
ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียน และแปลในขั้นที่ใช้การได้อย่างแท้จริง เมื่อหยิบยกปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์  คนส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอกผู้เรียน กล่าวคือ โทษครูผู้สอนว่าขาดแคลนความรู้ ความชำนาญในการใช้ภาษาและขาดวิธีสอนที่ได้ผล โทษตำราแบบว่าขาดคุณภาพ โทษสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนว่าจัดหลักสูตรโดยให้สัดส่วนแก่ภาษาอังกฤษน้อยเกินไป โทษนโยบายของรัฐ ว่าขาดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและมีประสิทธิผล โทษสภาพแวดล้อมทางสังคมว่าไม่เอื้อต่อการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง
ประเด็นปัญหาต่างๆดังที่กล่าวมานี้ เป็นปัญหาหมักหมมมานานและเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆจนประหนึ่งว่าเหลือวิสัยที่ใครจะแก้ไขอะไรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องผู้สอน สื่อการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ประเด็นนี้ต้อง ย้อนกลับไปพิจารณาดูเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี   ปัจจัยภายนอกก็สำคัญเช่นกัน  เช่น  มีโอกาสใช้ในสถานการณ์จริงเพราะ คบหาคลุกคลีกับเจ้าของภาษามากพอ  ได้ศึกษาจากครูอาจารย์ที่มีความรู้ความชำนาญตลอดจนได้เรียนรู้จากสื่อรอบตัวประเภทที่มีคุณภาพมาตรฐาน  ส่วนปัจจัยภายในก็คือเป็นผู้มีความถนัดในการเรียนภาษา  มีเจตคติที่ดีต่อภาษาที่เรียน  มี  แรงจูงใจใฝ่เรียนรู้สูงประกอบกับมีความทุ่มเทมากพอ  ผู้เรียนจำเป็นต้องพัฒนาปัจจัยภายในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิ์ผลนั้นจำต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบหรือมีระเบียบแบบแผนโดยอาจมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
      1.กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
      2.รู้จัก จัดเตรียมและแสวงหาแหล่งเรียนรู้
      3.พัฒนากลยุทธ์การเรียน
      4.ลงมือปฏิบัติ 
เริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ก็สมควรกำหนดให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นกว่าจะสามารถทำอะไรได้แค่ไหน (ฟัง    พูด  อ่าน  เขียน  แปล ) ภายในกรอบเวลาได้  เช่น
·       ภายใน 1 ปี สามารถชมข่าวภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ได้เข้าใจจนสามารถสรุปสาระสำคัญของเนื้อ ข่าวได้
·       ภายใน 6 เดือน สามารถสนทนาขั้นพื้นฐานกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้  เช่น (สอบฐานความ ต้องการ  ให้คำแนะนำ  บอกทาง )
·       ภายใน 3 เดือน สามารถอ่านข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์รายวันและนิตยาสารรายสัปดาห์ได้เข้าใจเป็นส่วนใหญ่
·       ภายใน 1 เดือนสามารถเขียน e-mail  โต้กับชาวต่างชาติได้โดยไม่ขลุกขลัก
·       เรียนรู้ศัพท์ใหม่  (  วิธีออกเสียง  ความหมาย  วิธี  ใช้คำในประโยค  )  วันละ 5-10 คำ
ต้องให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงด้วย  โดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้  ความถนัดและการจัดสรรเวลา  (ภาระการเรียน  ภาระการงาน  และกิจกรรมอื่นๆ )
                เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้ว ก็ต้องรู้จัก จัดเตรียมและเสาะหาสื่อและแหล่งความรู้เอื้อต่อการฝึกทักษะด้วยตัวเองเช่น
·       โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เพื่อการรับชมข่าวและรายการจากต่างประเทศ
·       วิทยุคลื่นสั้นเพื่อการรับฟังข่าวสารจากต่างประเทศโดยตรง
·       แหล่งท่องเที่ยว เพื่อหาโอกาสที่จะพัฒนากับนักท่องเที่ยว
·       หนังสือพิมพ์รายวัน  นิตยาสารรายสัปดาห์เพื่ออ่านข่าวและบทความ
·       ห้องสมุด เพื่อการอ่านและกิจกรรมการเรียนอื่นๆ
·       ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยและร้านหนังสือต่างประเทศ
เมื่อรู้จักจัดเตรียมและเสาะหาสื่อแหล่งเรียนรู้พร้อมแล้วขั้นต่อไปจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบทั้งสิ้น 10 ประการ ได้แก่ ศึกษาฝึกฝน สังเกต จดจำ เลียนแบบ ดัดแปลง วิเคราะห์ ค้นคว้า ใช้งาน ปรับปรุง ซึ่งอาจอธิบายความได้ดังนี้
1. ศึกษา
การเรียนภาษาจะต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษาโดยตรงก่อนเสมอ ความรู้เปรียบเสมือนเสาหลักมีอยู่ 2 ด้าน คือ ศัพท์กับไวยากรณ์ นอกจากตัวเนื้อภาษาแล้วยังมีความรู้อีก ด้านใหญ่ ที่ไม่ควรละเลยคือ
·       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา เช่น ภาษาคืออะไร มีลักษณะอย่างไร
·       ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของภาษา (สังคม วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ วรรณคดี )
ในการเรียนภาษาจึงไม่ต้องเรียนเนื้อหา อะไรนอกเหนือไปจากการฝึกทักษะ ทำให้ไม่เข้าใจและไม่ใส่ใจว่าจะต้องหาความรู้เรื่องศัพท์และไวยากรณ์ อันถือได้ว่าเป็นส่วนตัวเนื้อหา หลักของภาษาโดยตรง

2. ฝึกฝน
การเรียนภาษาแตกต่างจากเรียนวิชาอื่นๆเป็นวิชาอื่นๆเป็นส่วนใหญ่  ตรงที่ว่าต้องมีสองด้านควบคู่กัน การเรียนแต่ภาคทฤษฎีโดยไม่ฝึกปฏิบัติ ย่อมไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมายคือสามารถใช้ภาษา การฝึกฝนภาษาให้ได้ผล จำต้องผ่านอินทรีย์หลายทางควบคู่กัน คือ ตา หู ปาก มือ
·       ตา ดู ครอบคลุมทั้งการอ่าน ตัวหนังสือและสีหน้าท่าทางในระหว่างการสนทนา
·       หูฟัง ครอบคลุมการฟังทั้ง เสียงและน้ำเสียงของผู้พูด
·       ปาก พูด หมายถึงการออกเสียง ยังครอบคลุมไปถึงการพูดในที่ประชุมการนำเสนอด้วยวาจาและการบรรยาย
·       มือ –  เขียน ได้แก่การเขียนและหมายรวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ทดแทนการเขียนด้วยมือ เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนต้องใส่ใจเรื่องระเบียบแบบแผนที่ถูกต้องในการเขียน
ทั้งสี่ทางนี้สอดคล้องกับทักษะการใช้ภาษาสี่ด้าน นอกจากนี้ยังต้องมีแรงเสริมอีก 2 ทาง คือ
·       หัว คิด หมายถึง สมรรถนะทางด้านปัญญา ในการคิดพิจารณา วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่กำลังศึกษา
·       ใจ รัก หมายถึง สมรรถนะทางด้านจิต คือใจรักในสิ่งที่อ่านก่อน จากนั้นก็มีความหมั่นเพียรในการศึกษา
3. สังเกต
ภาษาอังกฤษมีเนื้อหาอยู่มาก บางเรื่องบางด้านก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ซึ่งผู้ที่ไม่ค้นจะรู้สึกว่าเข้ายาก บางเรื่องก็เป็นลักษณะของภาษาเอง ไม่อาจใช้เหตุผลคาดคะเนหรือใช้ตรรกะหยั่งรู้เอาเองได้
·       ไวยากรณ์ เช่น โครงสร้างของวลีและประโยคการเรียงลำดับคำ,การผันรูปกริยาตาม tense
·       ศัพท์ เช่น ชนิดของคำ คำที่มีความหมาย,คำที่มักปรากฏร่วมกัน (collocation)
·       ภาษาสำเร็จรูป ซึ่งมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างศัพท์กับไวยากรณ์ ได้แก่ โวหาร (expression) สำนวน (idiom) สุภาษิต (proverb)
4. จดจำ
ในยุคที่การปฏิรูปการศึกษากำลังฟื้นฟูนี้ มีนักศึกษาส่วนหนึ่งมักจะพูดตำหนิวิธีการเลียนแบบท่องจำในลักษณะที่สุดโต้ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดเลยเถิดไปว่า การท่องจำเป็นวิธีเรียนที่เชย ล้าสมัย ไม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์  การท่องจำจึงไม่จำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
ผลเสียจากการที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันละทิ้งการท่องจำ  มีตัวอย่างที่เห็นชัดเรื่องหนึ่งคือไม่สามารถใช้รูปคำกริยาที่ผันรูปผิดปรกติได้ถูกต้อง (เช่น give – gave – given ) หรือเกิดความสับสนเป็นประจำ (เช่น lie – lay - lain  สับสนกับ lay – laid – laid และ lie – lied – lied )
5. เลียนแบบ
แต่ละภาษาจะมีสัญนิยม ( convention) ของตนเองอันเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างคนที่ใช้ภาษาเดียวกัน มิฉะนั้นจะสื่อสารกันไม่ได้เลย คนที่เป็นสมาชิกใหม่ของประชาคมที่ใช้ในภาษานั้น (เช่น เด็กเกิดใหม่เริ่มเรียนภาษาของแม่หรือนักเรียนที่เริ่มเรียนภาษาต่างประเทศ ) ก็ต้องยอมรับศึกษาและใช้ตามสัญนิยมนั้น ด้วยเหตุนี้การเรียนภาษาจึงต้องอาศัยหลักการเลียนแบบตลอดทุกขั้นตอนหรือตลอดชีวิตก็คงได้
6. ดัดแปลง
เมื่อเลียนแบบแล้ว ต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆการดัดแปลงย่อมต้องอาศัยความรู้เรื่องไวยากรณ์ประกอบกับความรู้เรื่องศัพท์และสำนวนโวหารเป็นพื้นฐานสำคัญ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรายังอ่อนแอเรื่องการค้นคว้าอยู่มาก ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ครูผู้สอนภาอังกฤษบางส่วนนอกจากไม่แนะนำส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้พจนานุกรมแล้ว บางครั้งยังไม่สนับสนุนให้ใช้และถึงกับห้ามใช้ก็มี
7. วิเคราะห์
การเรียนภาษาในระดับเบื้องต้นจำต้องอาศัยการเลียนแบบอยู่มาก การวิเคราะห์มีได้ใน 3 ระดับใหญ่ๆ คือ
·       ระดับศัพท์ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำศัพท์และสำสวน
·       ระดับไวยากรณ์ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยค
·       ระดับถ้อยความ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายโดยรวม ที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการสื่อ
8. ค้นคว้า
ความรู้ที่มีอยู่ในตำรา  แบบเรียนหรือสื่อการเรียนอื่นๆยังมีไม่เพียงพอ ผู้เรียนจำต้องค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรายังอ่อนเรื่องการค้นคว้าอยู่มาก ในสภาพความเป็นจริงของการใช้ภาษาการตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนหรือผู้ใช้ภาษาต้องรู้ศัพท์หมดทุกคำ หรือต้องใช้ภาษาโดยไม่ผิดเลยนั้น เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เพราะเป็นไปไม่ได้และก็ไม่จำเป็นด้วย แต่การพร่ำสอนให้ผู้เรียนอาศัยการเดาไม่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมทำให้ความรู้ต่างๆที่เรียนมานั้นพร่ามัว ง่อนแง่น จึงทำให้ขาดความมั่นใจในการใช้ภาษา
9. ใช้งาน
การมีโอกาสไปใช้ในชีวิตในต่างประเทศทำให้ได้ใช้ภาษาในสภาพจริงได้อย่างเต็มที่ ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เป็นปัจจัยที่เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาได้อย่างดียิ่งและทำให้ได้ตระหนักถึงจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง เนื่องจากได้เรียนรู้ของจริง ซึ่งบางครั้งอาจแตกต่างอย่างมากจากประสบการณ์ในสถานการณ์จำลองภายในชั้นเรียนภาษาของบ้านเราเอง อันเป็นการเปิดโอกาส
10. ปรับปรุง
ในการฝึกฝนการใช้ภาษา ผู้เรียนที่ดีต้องช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดบกพร่องเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขด้วยการศึกษา ฝึกฝน วิเคราะห์ ค้นคว้า และหาโอกาสไปทดสอบใหม่เพื่อจัดความก้าวหน้าหรือพัฒนาการในการใช้ภาษาในด้านนั้นๆ
ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องบ่มเพาะสะสมเป็นเวลานานมิใช่จะได้มาโดยเพียงผ่านการเรียนกวดวิชาหรือฝึกอบรมไม่กี่สิบชั่วโมง   ดังที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกัน